วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาการท้องอืด

อาการท้องอืด เป็นอาการที่มีการปวดท้องส่วนบน ท้องอืด จุกแน่นท้อง คล้ายมีลมตีขึ้น บริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ มีลมในท้อง ต้องเรอบ่อยๆ หรือบางครั้งต้องการเรอแต่เรอไม่ออกทำให้รู้สึกแน่นท้องบางคนอาจจะมีอาการแน่นท้อง รู้สึกตึงๆในท้อง รู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย แม้จะเพิ่งรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย จึงทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว บางคนอาจมีอาการแสบบริเวณหน้าอก หรืออาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย แต่อาการท้องอืดแน่นท้องอาจเกิดจากอาการของท้องบวม ซึ่งเกิดจาก น้ำ ลม หรือเกิดเนื้อเยื่อในท้อง (เช่น เนื้องอก) ถ้าอาการท้องอืดเกิดจากอาการท้องบวมก็ควรรักษาที่ต้นเหตุของอาการที่ทำให้เกิดอาการท้องบวม สาเหตุของอาการท้องอืดที่พบได้บ่อย ได้แก่ การมีลมในทางเดินอาหารมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากร่างกายของคนนั้นมีเชื้อที่สร้างก๊าซมากกว่าคนอื่นๆ หรือเกิดจากร่างกายมีเชื้อแบคทีเรียในลำไส้มากเกินไปหรือเกิดจากการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดก๊าซมากเกินไป เช่น ชะอม ผักชี คะน้า ต้นหอม กระถิน พริก กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ กระเฉด หัวผักกาดขาวหรือแดง กระเทียม สะตอ ผักดอง ข้าวโพด ถั่วต่างๆ แตงกวา ถั่วงอก มะม่วงดิบ ขนุน พุทรา ฝรั่ง ทุเรียน แอ๊ปเปิ้ล มันแกว แตงโม น้อยหน่า มังคุด สาลี่ เป็นต้น อาจเกิดจากการรับปนระทานอาหารที่มีไขมันหรือมีกากมากเกินไป อาจเกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาทำให้อาหารไม่ย่อย ลำไส้มีการอุดตันทำให้ก๊าซไม่สามารถเคลื่อนลงไปสู่ลำไส้ใหญ่ได้ การอุดตันของลำไส้อาจเกิดจากไส้เลื่อน พังผืดในท้องรัดลำไส้ เป็นต้น ในผู้ใหญ่ อาจมีสาเหตุมาจากการมีเรื่องกังวล ทำให้กระเพราะทำงานไม่ปรกติ ส่วนในเด็ก อาจเกิดจากการทานอาหารมากเกินไปหรือกินอาหารที่ย่อยยาก สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดคือผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลำไส้แปรปรวน ผู้ป่วยที่มีลำไส้ไวต่อการกระตุ้นแม้ว่าก๊าซในลำไส้อาจจะไม่มากแต่ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง พฤติกรรมในการรับประทานอาหารมีส่วนสำคัญที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการท้องอืด เช่น การรับประทานอาหารรสจัด จะทำให้เยื่อบุอาหารอักเสบ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารประเภทผักที่มีเส้นใยมาก ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่มีน้ำย่อยที่สามารถย่อยเส้นใยเหล่านี้ได้ แต่แบคทรีเรียในลำไส้จะเป็นตัวช่วยย่อยทำให้เกิดมีกรดบางอย่างขึ้นก่อให้เกิดอาการท้องอืดได้ ถ้ารับประทานมากไป ในแถบเอเชียเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วมักไม่ค่อยดื่มนม ร่างกายจึงไม่ค่อยมีน้ำย่อยที่จะย่อยนมหรือมีก็มีในปริมาณต่ำ เมื่อรับประทานอาหารประเภทนมเหล่านี้ถูกย่อยไม่หมดทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือท้องเสียได้ การป้องกันและดูแลสุขภาพ การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและรักษาอาการท้องอืดเบื้องต้น คือ ไม่สมควรดื่มสุราหรือแอลกอฮอลล์ อาหารรสจัด อาหารหมักดอง บุหรี่ น้ำชา กาแฟ ผู้ที่ดื่มนมแล้วมีอาการท้องอืดก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนม ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน ควรรับประทานอาหารประเภทผักที่มีเส้นใยในปริมาณที่พอเหมาะ เนื่องจากอาหารประเภทผักก็มีประโยชน์ เพราะช่วยในการขับถ่าย หลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณอาหารที่ก่อให้เกิดก๊าซในทางเดินอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคการะเพราะอาหารควรรับประทานอาหารให้มากพอ และควรมีอาหารว่างระหว่างมื้อ การรับประทานอาหารอย่างช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียดไม่ควรรีบเร่งจนเกินไป บางท่านอาการท้องอืดก็ยังมีอยู่บ้างบางครั้งบางคราวก็อาจจะต้องหาอาหารสมุนไพรหรือสมุนไพรสามัญประจำบ้านมาช่วยในการรักษาเบื้องต้น สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการท้องอืดที่หาได้ไม่ยากนัก ซึ่งมามารถหาซื้อหรือนำมาปลูกเองได้ และสามารถนำมาใช้รักษาหรือบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ ได้แก่ กระชาย กระเทียม กะเพรา ขิง ข่า ขมิ้นชัน ตะไคร้
ขอบคุณ ข้อมูลดีๆจาก หนังสือเภสัชโภชนา กินผักให้เป็นยา สมุนไพรสามัญประจำบ้าน

http://guru.sanook.com/pedia/topic/



http://www.youtube.com/watch?v=eaVVRCG0jSw