กระเทียม

กระเทียม







ชื่ออื่นๆ   หอมเทียม(เหนือ)
                กระเทียมขาว หอมเทียม (อุดรธานี)
                ปะเซ้วา (แม่ฮ่องสอน) เทียน (ใต้-ปัตตานี)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn.
วงศ์ Alliaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระเทียม เป็นพืชล้มลุกมีเนื้ออ่อน ต้นสูงประมาณ 30 ถึง 45 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวแก่ แบนแคบ และกลวง ยาวประมาณ 30 ถึง 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 ถึง 2.5 เซนติเมตร ส่วนโคนของใบหุ้มซ้อนทับกัน ด้านล่างมีรอยพับเป็นสันตลอดความยาว ปลายใบแหลม หัวอยู่ใต้ดิน ประกอบด้วยหัวเล็กๆ หลายหัวรวมกัน ยาวประมาณ 1 ถึง 4เซนติเมตร มีเปลือกนอกสีขาวหุ้มอยู่ 2 ถึง 3 ชั้น ดอกจะมีสีขาวแต้มสีม่วง หรือขาวอมชมพู ดอกออกเป็นช่อ ดอกติดเป็นกระจุกอยู่บนก้านช่อดอกที่ยาว ประกอบด้วยดอกหลายดอก กลีบดอกมี 6 กลีบ รูปยาวแหลม ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร และมีกาบหุ้มยาว ก้านดอกยาวเล็กอัปสรหันหน้าออกด้านนอก
ส่วนที่ใช้และวิธีการใช้
ส่วนที่นำมาใช้รักษาอาการท้องอืด คือ ส่วนที่อยู่ในดิน หัว หรือ กลีบหัว ใช้สดหรือแห้ง 5 ถึง 7 กลีบ บดให้ละเอียดเติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ผสมให้เข้ากันกรองเอาแต่น้ำดื่ม หรือใช้เนื้อใน 5 กลีบ หั่นซอยละเอียดรับประทานหลังอาหาร
สรรพคุณ

ใช้เป็นอาหาร โดยใช้กลีบกระเทียมเป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อแต่งกลิ่น ทางยาใช้ผสมกับขิงอย่างละเท่าๆกัน แล้วนำมาบดละลายกับน้ำอ้อยกิน จะแก้รัตตะปิตตะเสมหะ แก้เสมหะและลม แก้ฟกช้ำ กระจายโลหิต ผสมยารักษาโรคมะเร็งเพลิง มะเร็งคุด มะเร็งเปื่อยทั้งตัว ผสมกับยาแก้ไอ แก้จุกเสียด แก้ลมบ้าหมู แก้ลิ้นแข็ง ช่วยเจริญอาหาร ผสมในยาแก้ท้องอืด แก้เจ็บท้อง ริดสีดวงทวาร ผสมยาทาช่วยทำให้คลายเส้น แก้เมื่อย แก้กลาก แก้โรคผิวหนัง ผสมกับน้ำมันองคสูตรแก้ริดสีดวงทวาร คัน ฟกช้ำ บวม เมื่อใช้ผสมน้ำนมหรือน้ำกะทิสดคั้น ใช้ขับพยาธิเส้นด้าย กินอาทิตย์ละ 3 ถึง 4 ครั้ง ก็จะขับออก เนื่องจากกระเทียมมีรสร้อนสามารถลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดได้ ทำให้ลดการอุดตันของเส้นเลือด มีการนำส่วนหัว มาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แต่งกลิ่นอาหาร แก้ท้องอืด ขับพยาธิ ได้ดีเลยทีเดียว

ขอบคุณ ข้อมูลดีๆจาก หนังสือเภสัชโภชนา กินผักให้เป็นยา สมุนไพรสามัญประจำบ้าน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น