กระชาย



กระชาย




ชื่ออื่นๆ ว่านพระอาทิตย์(กรุงเทพฯ)
                กระแอน ระแอน(ภาคเหนือ)
                ขิงทราย(มหาสารคาม)
                จิ๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
                เป๊าะสี่ เป๊าะซอเร้าะ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata Holtt.
วงศ์ Zingiberaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระชาย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ไม่มีลำต้นบนดิน มีแต่เหง้าอยู่ใต้ดิน รากแตกออกไปจากเหง้ามีลักษณะอวบน้ำและแตกออกเป็นกระจุกจำนวนมาก ตรงกลางของรากพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้ายใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5 ถึง 10 เซนติเมตร ยาว 15 ถึง 30 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบ มีร่องลึก ดอกออกเป็นช่อแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้นกลีบดอกมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ใบประดับเป็นรูปหอก มีสีม่วงแดงดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก
ส่วนที่ใช้และวิธีการใช้
ส่วนที่ใช้คือ เหง้าราก โดยนำเหง้าและรากประมาณ 1 กำมือ (สด 5 ถึง 10 กรัม แห้ง 3 ถึง 5 กรัม) ต้มกับน้ำพอเดือด รินเอาเฉพาะน้ำดื่ม หรือใช้ปรุงอาหารรับประทาน
สรรพคุณ

ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคเกี่ยวกับช่องปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผลปากแห้ง และช่วยขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองโดยใช้สารสกัดแอลกอฮอล์ และคลอโรฟอร์มพบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังและในช่องปากได้ดีพอควร

ขอบคุณ ข้อมูลดีๆจาก หนังสือเภสัชโภชนา กินผักให้เป็นยา สมุนไพรสามัญประจำบ้าน




                                            http://www.youtube.com/watch?v=agw_GTz9-4k

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น